Raspberry Pi เป็น Single Bord หรือจะว่ามันเป็น Embedded pc ก็ได้  ในตอนนี้ ถือว่ามันเป็นบอร์ดที่ยอดฮิต ณ. ปัจจุบัน เนื่องจากมีขนาดเล็ก (เล็กเท่ากับ ATM)  พกพาสะดวก แถมยังประหยัดพลังาน  ตัวบอร์ดมี HDMI, USB, Jack 3.5 Audio ติดมาให้เลย ส่วน Storage ใช้ SDCard และยังมี Port  GPIO  มาให้อีกด้วย  สามารถนำไปทำ Project อะไรต่อได้หลายๆ อย่าง ไม่แพ้ PC/Notebook เลยทีเดียว   เจ้า Raspberry Pi นั้น ส่วนใหญ่นิยมนำมาเป็น Project แนวๆ Smart Home  (loT  : Internet Of Things) หรือพวก Control Hardware, Multimedia เป็นต้น  และราคาก็ถูกมากๆ  หาชื้อได้ตามร้านค้า Online

ปัจจบัน Raspberry ผลิตออกมาหลายรุ่นล่ะ  เช่น P1 model A+ , P1 model B+,  P2 model B  ตอนนี้ผมเอง ก็มีใช้อยู่ 2 ตัวละ ชึ่งก็คือ P1 B+ (ใช้มาเกือบ 2 ปีละ) และ Pi 2 B (พึ่งชื้อมาเล่นได้ 4 เดือนละ)  แต่ล่าสุด เห็นรุ่นใหม่ออกมาอีกละ ^ ^”  ซึ่งมันก็คือ Raspberry Pi Zero  นั้นเอง แต่ ณ. ตอนนี้ยังไม่มีขายในบ้านเรา เพราะมันยังใหม่อยู่  เดียวถ้าหากมีขายทีบ้านเรา เดียวผมจะสั่งชื้อมาลองเล่นอยู่เหมือนกัน เดียวจะนำมา Review ให้อีกที

หลักๆ การใช้งานของผมไม่เน้น loT มาก  สวนใหญ่จะเอามาทำเป๋น Server เป็นหลัก เช่น
– BitTorrent Server (Transmission)  & PyLoad
– Backup & File server
– Web Server  (Web APi)
– Database Server
– VPN
– Proxy Server
– Source Control (Git Lab)
– ใช้สำหรับทดสอบเขียนโปรแกรมด้าน Network ทั่วไป และรวมไปถึง Test รัน Script นั้น โน่น นี่ …

Raspberry Pi เหมาะงานแบบไหน และถ้าหากจะเริ่มต้นนำมาใช้งานจะต้องรู้อะไรบ้าง ?
Raspberry Pi นั้น ส่วนใหญ่เค้านิยมนำมาเป็น Server หรือไม่ก็ Control Hardware (l0T) หรือแนว smart home  ซึ่งเราสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อให้มันทำนั่นโน่น นี้ ได้ตามแต่ที่ต้องการ  ส่วนใหญ่ OS ที่เค้านิยมทำมาใช้งานกับ Pi นั้น ส่วนใหญ่จะเป็น Base on Linux  ถ้าหากมีความรู้หรือเชียวชาญ Command Linux ก็ง่ายต่อการนำไปต่อยอดใช้งาน แล้วถ้าไม่มีความรู้ Linux เลยล่ะ จะสามารถใช้งานได้ไหม ?     จริงๆ ผมว่าของพวกนี้มันค่อยๆศึกษาค่อยๆ เรียนรู้ กันได้ ถ้าหากขยันอ่าน ขยันลอง มันก็ไม่น่ายาก  ทำบ่อยๆ เดียวก็เป็นเอง  ^ ^ 🙂    สิ่งที่ได้รับกลับมาก็คือ ทำให้เราจะมีทักษะ Linux มากขึ้นอีกด้วย

ก่อนอืนเราจะต้องทำการเตรียมอุปกรณ์ที่เกียวข้องกันก่อน   เอาที่จำเป็น “จริงๆ” สำหรับใช้งาน ควรจะต้องมีดังนี้
1. ตัว Raspberry Pi Board (หาชื้อได้ตามเว็บ Online)
2. สาย Adapter (Micro USB)  สามารถใช้สายชาร์ตโทรศัพท์มือถือได้
3. SD Card 8G up (แนะนำ Class 10)  ถ้าให้ดี 32G ไปเลย
4. จอมอนิเตอร์ (ถ้าให้ดี ควรจะต้อง รองรับ HDMI)
5. สาย HDMI  (ถ้า Monitor ไม่มี port นี้ ก็อาจะหาหัวแปลงสัญญาณ)
6. Keyboard & Mouse (ถ้าเป็น Wireless ก็จะสะดวกหน่อย)
7. Image OS (ไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้ง OS)


สำหรับ Image หรือ OS ของ Raspberry Pi นั้น สามารถเข้าไป Download ได้โดยตรงจากเว็บไชด์ของเค้าได้เลย
https://www.raspberrypi.org/downloads/

ซึ่งมีให้เลือกหลายตัว แต่ในที่นี้ ขอเลือก Raspbian OS ละกัน เพราะเป็นตัวที่มีความเสถียร์และเหมาะกับ Pi มากที่สุด  ปัจุบันทางผู้พัฒนาได้ออก Image Version ใหม่สำหรับ Raspberry PI มาล่ะ ซึงมันก็คือ Jessie นั่นเอง

Raspbian Jessie : มันยังคงใช้ Linux Core : Debian  เหมือนเดิม ถ้าหากใครใช้ Linux ตระกูล Debian  อย่างพวก Ubuntu, Mate  ก็น่าจะคุ้นเคยกันอยู่แล้ว

นอกจากนี้แล้ว ตัวบอร์ด Raspberry Pi ยังสามารถใช้งานกับ Image OS ค่ายอืนได้อีกด้วย เช่น Ubuntu, Snappy Ubuntu Core, OSMC, Openelec, PINET, RISC, Arch Linux OS รวมถึง Windows 10 core   (ส่วนตัวชอบ Raspbian  เพราะว่า มันเป็น OS ที่ได้รับการทดสอบ/และพัฒนาจาก Team Developer Raspberry Pi โดยตรง ชึ่งแน่นอน ความเสถียร์ก็น่าจะดีกว่า ค่ายอื่น)

แล้วควรจะเลือก OS อะไรดี ?
ถ้าสาย loT Control Hardware แนะนะ Raspbian ถ้าแนว Desktop GUI สวยงามก็คงหนีไม่พ้น Ubuntu กับ Mate
ส่วนถ้าจะเล่นพวก Server แนะนำ Raspbian Jessie, Snappy Ubuntu Core, Risc OS, Arch Linux
ถ้าให้แนะนำสำหรับท่านที่มาสายบันเทิง อาจะต้องไปใช้ OSMC, OPENELEC
หรือถ้าหากเป๋นแนวเพือการศึกษาแบบสำหรับเด็กก็แนะนำ PINET
ส่วน Windows 10 lOT นั้น ผมว่า ณ.ตอนนี้มันยังไม่มีอะไรโดนเด่นเท่าไร เนือกจากมันยังเป็นแค่ Core OS ไม่ได้มี GUI เหมือน Desktop เลยคิดว่าไม่น่าเหมาะที่จะนำมาใช้งานจริง

แต่อย่างไรก็ตามบทความนี้จะขอเน้นเอามาทำ Server เป็นหลักนะครับ


ในการ Burn Image ลงบน SD Card นั้น อาจะต้องใช้ Software ช่วย ดังนั้น กรณีบนฝั่ง Windows ขอแนะนำ Win32 Disk Imager
สามารถ Download ได้ที่ Link นี้ได้เลย
http://sourceforge.net/projects/win32diskimager/

หนังจากที่ Download Image ลงมาแล้ว ให้ทำการแตกไฟล์ จากนั้นเปิดโปรแกรม Win32 Disk Imager
แล้วเลือก Image .img  แล้วคลิ๊ก Write ลงบน SD Card     ส่วนปุ่ม Read ใช้ในกรณีที่ต้องการ Backup Image

เมื่อเราได้ทำการ Write Image ลงบน SD Card เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากนั้นนำ SD Card ไปเสียบเข้าไปตัวบอร์ด Raspberry Pi ตรงช่องด้านหลังให้เรียบร้อย
อย่าลืมเสียบ Adapter (ไฟเลี้ยง), Mouse , Keyboard รวมถึงสาย LAN ให้เรียบร้อย เพื่อจะให้เจ้า Raspberry Pi เชื่อมต่อผ่าน Network ได้ เพราะหลังจากนี้ เราจำเป็นต้องใช้ Internet ในการติดตั้ง software ต่อไป ด้วย

ในการเริ่มต้นใช้งาน Raspberry Pi 2 ครั้งแรกนั้น เราจำเป็นต้องต่อจอแสดงผล เพื่อให้ง่ายต่อการ Config ดังนั้จะต้องมีใช้สาย HDMI เพื่อต่อเข้ากับ TV หรือ Monitor  (ถ้าใช้ TV หรือ Monitor รุ่นใหม่ๆ มันมี port นี้อยู่แล้ว) แต่ถ้า TV/Monitor รุ่นเก่าๆ ที่ไม่มี port HDMI เราสามารถหาชื้อตัว HDMI Converter มาแก้ขัดก็ได้เหมือนกัน

หลังจากที่เราสามารถ Boot เข้าตัว Pi ได้แล้ว  เราจะต้องทำขึ้นตอน Basic Configurations เบื้องต้นก่อน  (จริงๆ ทำแค่ครั้งแรก ครั้งเดียว)
ในการ Config เบื้องต้นนั้น ผมจะขออธิบาย Step by Step ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ  และหวังว่าท่านผู้อ่านน่าจะสามารถนำไปต่อยอดใช้งานเอง ได้จริงๆ

ว่าแล้วก็มาเริ่มกันเลย  เอ๊าา !!!  มา!!
เริ่มแรกหลังจาก boot เข้า OS แล้ว ให้เปิด Terminal แล้วพิมพ์คำสั่ง sudo raspi-config  (มันจะเปิดหน้าต่างสีน้ำเงินขึ้นมา ดังภาพประกอบ)


ในส่วนของหัวข้อ Expand Filesystem  หัวข้อนี้สำคัญมากๆ เพราะไม่เปิดใช้งาน มันจะมีผลกับพื้นที่บน SD Card ของ Raspberry Pi ไม่พอ ทำให้เราไม่สามารถ ติดตั้ง software ได้   ดั้งนั้นควรจะต้องเปิดมันด้วยนะครับ เพือให้ Pi มัน resize partition บน SD Card ให้เรานั้นเอง


ในส่วนของหัวข้อ Change User Password นั้น ถ้าอยากจะทำการเปลัยน Password ในการ Login ของ User : Pi ก็สามารถเปลียนเป็นอย่างอื่นได้ตามใจชอบ (ผมขอแนะนำว่า ควรเปลียนนะครับ เพราะถ้าไม่เปลียน เมือเรานำมาต่อ Internet อาจจะทำให้ผู้ไม่หวังดี  Hack เข้ามาได้ผ่าน default password)


ในส่วนของ Boot Options จะเป็นการให้เราเลือกว่า เมือ Boot เครืองเข้ามาจะให้มันเป็นแบบไหน
– Console :   หมายถึงเมือ Boot เข้ามามันจะ default text mode แล้วรอให้เรา login  (ถาม password)
– Console Auto login : หมายความว่า เมือ boot เครืองเข้ามา มันจะ login เข้าไปแบบ Text Mode ให้เอง  (ไม่ถาม password)
– Desktop : หมายความว่า เมื่อ Boot เข้ามาจะเข้าหน้า UI เลย  และมันจะถาม password
– Desktop Auto login : หมายความว่า มันจะ auto login เข้าหน้า GUI ให้เลย โดยไม่ถาม password

ตรงนี้มันขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานของแต่ละคนครับ  (ในที่นี้จะขอเลือกแบบ TextMode หรือ Console)

ในส่วนของหัวข้อ Wait For Network at Boot ให้เลือกเป็น Fast Boot without waiting for network connection
ถ้าเลือกอันล่างมันจะรอจนกว่าจะเชื่อมต่อ Network ให้ได้ก่อน ถึงจะ Boot สำเร็จ

ในหัวข้อ Internationalisation Options ตรงนี้จะใหัปรับแต่งอยู่ 3 ส่วน
– ส่วนแรกคือ Change Locale เป็นการ set ภาษา นั้นเอง

ตรงนี้ ผมแนะนำให้ใช้ en-US.UTF-8 นะครับ

ในหัวข้อ Timezone ให้เลือก  Asia/Bangkok


ในสวนของการตั้งค่า Keyboard นั้น แนะนำให้เลือก เป็น Generic 105 Key (Intel PC)  หัวข้อนี้อาจจะเลือกแล้ว งงๆ แต่ถ้าให้ดีแนะนำให้แก้ไขผ่าน Text Mode (Command Line) ที่หลังก็ดีกว่า โดยการ Config ตามด้านล่างได้เลย


เมนูนี้ให้เราทำการปรับแต่ง Clock ของ CPU  โดยในที่นี้ ผมใช้ Pi2 เลยเลือกหัวข้อสุดท้าย    หรือถ้าใครอยากบ้าพลัง OverClock ด้วยตังเองแบบ Manual สามารถเข้าไปแก้ไขไฟล์ /boot/config.txt เองได้เลย
Raspberry Pi 2 Overclock


ในส่วนของการติดตั้งครั้งแรก เราจำเป็นจะต้องเข้ามาปรับแต่งหน้านี้ด้วย นะครับ   มาต่อกันเลย
เดียวจะเริ่มไล่กันตั้งแต่เมนู บน – ลงล่าง
– ในเมนูแรกสุด คือ Overscan หัวข้อนี้มีผลกับการแสดงผลหน้าจอ (ถ้าไม่เปิด มันจะแสดงผลไม่เต็มจอ) ควรจะ Enable มันด้วยนะครับ


ต่อมาเป็นหัวข้อ HostName หรือ กำหนด ComputerName นั้นเอง   ถ้าใครอยากแก้ไขชื่อ HostName เป็นชื่ออื่นทีไม่ใช่ Default ก็สามารถแก้ไขได้เลย
ในที่นี้ผมตั่งชื่อเล่นๆ ว่า “MyPiB0x2” ละกัน   (ถ้าไม่เปลียนมันจะ Default : RaspberryPi)


ในหัวข้อ Memory Split  นั้น จะเกียวข้องกับการแสดงผล ก็คือ มันต้องการให้เรากำหนด Share Memory ไปให้ GPU นั้นเอง เราสามารถปรับแต่งได้ตามใจชอบ  ถ้าหากท่านไดเน้นสายบันเทิง (GUI Mode) ก็แนะนะ 128 หรือ 256 ไปเลย  เพราะเวลาเล่น VDO ภาพจะได้ไม่กระตุ๊ก   ในที่นี้ผมไม่เน้น GUI เท่าไร (ส่วนตัวชอบใช้ Text Mode) เลยประบไว้แค่ 32 ก็เพียงพอละ

หัวข้อนี้ขาดไม่ได้เลยนะครับ สำหรับถ้าอยากต้องการ Connect ตัว Ras Pi ผ่านการ Remote จะต้องเปิด Service SSH  นี้ไว้ด้วย  และหลังจากเปิด Service นี้เรียบร้อยแล้ว เราถึงจะสามารถใช้ Putty connect เข้ามาได้  โดยจะต้องกำหนด IP ของ Rap Pi ด้วย  (เดียวจะมาเล่าต่ออีกทีตอนท้าย)

ในส่วนของ Device Tree นั้น ก็อย่าลืมทำการ Enable มันด้วยนะครับ


สำหรับหัวข้อ Audio นั้น ถ้าเป็นการทำงานที่เน้นบันเทิง สามารถเข้ามาปรับแต่งเองได้เลย โดยที่มันจะมีให้เลือกว่าจะให้เสียง Output ออกทาง  HDMI หรือ Jack 3.5 HeadPhone  หัวข้อนี้ ถ้าไม่ใช่สายบันเทิง ดูหนัง ฟังเพลง ก็ข้ามได้เลย   และสำหรับท่านที่เน้นเอา Raspberry Pi มา Control พวก Hardware หรือออกแนวๆสาย loT ก็อาจจะต้องเข้าไปเปิดใช้งาน I2C และ Serial เพิ่มเติมเองด้วยนะคับ


หลังจากปรับแต่งเสร็จแล้วให้ทำการ Finish ออกมา แล้ว restart เครืองด้วยนะครับ   และอย่าลืมตรวจ check ให้แน่ใจว่าเจ้า Pi ของเรานั้น ได้ต่อกับ Network แล้วหรือยัง อาจะต่อผ่าน Wireless หรือ Lan ก็ได้เหมือนกัน  (มาถึงขึ้นตอนนี้แล้ว เราสามารถ ถอดจอ monitor,  เมาส์, คีย์บอร์ดออกได้เลย ให้เหลือแต่ Lan กับ Adapter ไฟเลี้ยง เพราะหลังจากนี้เราจะควบคุมมันผ่านการ Remote แทน)

หลังจากที่ Pi มันเปิดขึ้นมาแล้ว เราจำเป็นที่จะต้องควบคุมหรือสั่งงานผ่านการ Remote ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ IP ของ Raspberry Pi ด้วย  ในที่นี้ผมให้ Pi ตัวนี้ ต่อ Lan เข้ากับ Router  ซึ่งแน่นอนว่าครั้งแรงนั้น เจ้า Raspberry จะได้ Ip ใน Range เดียวกับ Network ของ Router (ในครั้งแต่มันจะรับ IP แบบ auto หรือผ่าน DHCP อยู่) เราอาจจะไม่รู้ว่า IP ที่มันได้คือ IP ไร ดังนั้นเราจะต้องใช้ Tools ช่วย scan เพือหา IP ของ Pi    (พอดี Router ของผมตั้งค่า IP Range เป็น 192.168.137.X)


หรือถ้าหากเราต่อจอ Monitor อยู่คาไว้อยู่แล้ว ก็สามารถดู IP จาก Command Line ได้เช่นกัน  #ifconfig | grep addr

ต่อมา เมือเรารู้ IP ของ Raspberry Pi ละ ก็สามารถ Connect ผ่าน Putty ได้เลย  แต่ขอย้้ำว่า password จะต้องใส่ให้ถูกนะครับ  ซึ่งมัน ก็คือ password ที่เราได้ทำการเปลียนแปลงในหัวข้อที่ผ่านมานั้นเอง    ในการ Connect ครั้งแรกนั้น เราจะไม่สามารถ connect ผ่าน root ได้   ให้เราเข้าด้วย user : pi ก่อน


คราวนี้มาถึงขึ้นตอนที่เราจะต้องทำการ Fixed static  IP ให้กับ Raspberry แล้ว    ถามว่าทำไมถึงต้อง Fix IP ให้คงที่ ?  ก็เพราะว่า ตอนนี้ Interface ของ Raspberry Pi มันจะรับ IP จาก DHCP ของ Router มันมีโอกาสที่จะเปลียนไปเป็น IP อื่น ทำให้เราเสียเวลามาหาว่า IP ล่าสุดคืออะไร  ดังน้้น ผมแนะนำให้ fix ไปเลยครับ จะได้ จบๆๆ  แต่สำหรับท่านที่ไม่อยาก fix ที่ pi ก็สามารถทำการกำหนดได้ที่ Router   ให้เราแก้ไขไฟล์ /etc/network/interface    หลังจากแก้ไฟล์ interface เสร็จแล้ว อย่าลืม reboot ด้วยทุกครั้ง หรือ ใช้คำสั่ง service networking restart ก็ได้เหมือนกัน

หมายเหตุ **   สำหรับท่านที่ใช้  IP คนละ Range กับผม  อย่าลืมแก้ IP, Getway, Network, Brodcast ให้ตรงกับ Router ของตนเองด้วยนะครับ

หลังจากที่เราได้ set static IP ไปแล้วตั้งแต่ข้างต้น  จากนั้นให้เราทำการ Connect เข้า Pi อีกครั้งผ่าน SSH ด่วย Putty โดยครั้งนี้จะเห็นว่า เรารู้อยู่แล้ว ว่า IP อะไร เราไม่จำเป็นต้อง scan หา IP ใหม่อีกละ   ซึ่ง IP เราสามารถใช้ IP นี้ตลอด จนกว่าจะมีการเปลียนไป IP อื่น


สำหรับท่านที่ต้องการ Connect เข้า Pi ด้วย user : root (ไม่ใช้ User : Pi)  ชึ่งปรกติ root มันจะ access เข้าจากข้างนอกยังไม่ได้  เราอาจจะต้องทำการ แก้ไข Config ของ ssh ในส่วนของ PermitRootLogin  สะก่อน
sudo nano /etc/ssh/sshd_config
แล้วหาบรรทัด PermitRootLogin จากนั้น เปลียนเป็น yes  ทำการ saved แล้ว restart service อีกที โดยใช้คำสั่ง #service ssh restart

ส่วนตัวชอบเข้าผ่าน root เพราะขี้เกียจพิมพ์ sudo นำหน้าคำสั่งนั้นเอง ^ ^”   และ root ทำได้ทุกอย่าง ถ้าเป็นฝั่ง Windows มันก็คือ Administrator นั้นเอง   หรือถ้าท่านไหน Login เข้าด้วย User : Pi  ถ้าอยากสลับไปเป๋น root ก็ทำได้เช่นกันโดยใช้คำสั่ง#su root  และถ้าอยากสลับจาก root ไปเป็น user ก็ทำได้เหมือนกัน  su ตามด้วย username เช่น #su pi


คราวนี้ลอง Connect เข้ามาอีกรอบ ผ่าน Putty แล้วเข้าด้วย User : root    ถ้าไม่ติดไร ก็น่าจะเข้าได้เลย

0

ก่อนที่เราจะเริ่มต้นใช้งาน เพื่อจะติดตั้ง Package software เราควรที่จะต้อง Update repository ของ Linux ด้วยเสมอ เพือให้ระบบปฏิบัติการรู้จัก repository ใหม่ ๆ
โดยใช้คำสั่ง #apt-get update && apt-get upgrade -y && apt-get dist-upgrade (ถ้าไม่ใช่ root อย่าลืมเติม sudo นำหน้าคำสั่งด้วยนะครับ)

อีกคำสั่งที่อยากแนะนำคือ  rpi-update  ซึ่งมันเห็นการ update firmware/kernel ของ raspberry pi  รวมถึง fixed bug ต่างๆ

เนื่องจาก Raspberry Pi นั้น มันมี memory หรือ Ram ค่อนข้างนอย  ใช้งานจริง อาจจะไม่เพียงพอต่อการใช้งาน  ดังนั้น อาจจะต้องทำการเปิดใช้งาน swapfile ด้วยก็ดีเหมือนกัน สามารถทำการแก้ไขไฟล์ dphys-swapfile แล้วขยายตัวเลข CONF_SWAPSIZE  ตามต้องการ ในที่นี้ผมแก้เป็น 1024 หรือ 1 GB นั้นเอง ถ้าหากใช้งาน service ไม่เยอะ ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดใช้งาน swappfile ก็ได้ครับ

เราสามารถตรวจสอบ memory ได้จากคำสั่ง # top

ในการเข้าถึงไฟล์หรือต้องการเข้าไปจัดการกับ System File บน Raspberry Pi  สามารถเข้าผ่าน  SFTP ได้เหมือนกัน ในที่นี้ขอแนะนำ FileZilla (ดังนั้นผมไม่แน่นำให้ติดตั้ง FTP Server บน Raspberry Pi นะครับ เพราะว่าปัจจุบัน FTP มันไม่มีความปลอดภัยเอาสะเลย  ผมเลยจะแนะนำใช้ SFTP ดีกว่านะครับ)   ในการ Login เข้า SFTP ผ่าน FileZilla นั้นสามารถใช้ User เดียวกับที่ใช้ Login ผ่าน SSH

ในกรณีที่อยากจะ Remote Desktop เข้ามาควบคุม Raspberry Pi ก็สามารถทำได้เช่นกัน โดยก่อนอื่นเราจะต้องติดตั้ง xrdp เข้าไปด้วย โดยใช้คำสั่ง
# sudo apt-get install xrdp
จากนั้น ลองเปิด Remote Desktop ที่ติดมากะ Windows แล้วลอง Connect Remote เข้าไปอีกที (มันจะถาม user & password  ก็ให้ใส่ user ของ raspberry pi ที่เราได้สร้างไว้ตั้งแต่ตอนต้น)

บทความนี้ขอจบการแนะนำการใช้งานเบื้องต้นไว้เพียงเท่านี้ก่อน หวังว่าคงมีประโยชนฺ์สำหรับท่านที่สนใจอยากจะมาลองเล่นเจ้า Raspberry Pi เพื่อเอาไปต่อยอดทำประโยชน์อื่นๆ
และถ้าหากมีข้อผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ  เดียวบทความครั้งต่อไปจะเป็นการพูดถึง การนำ Raspberry Pi ไปต่อยอดทำ Project อื่นๆ อีกที

ขอบคุณครับ
Admin@rockdevper

Facebook Comments
Share Button

Watchara Pongsri

Senior Software Engineer, Network Engineer CEH, CHFI, ECSA, MCSA My hobby is - Blogger - Programming & Security Researcher

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookLinkedInGoogle Plus

Comments are closed