ช่วงนี้มีเวลาว่างเหลือนิดหน่อย เลยจะกลับมาเขียนบทความอีกครั้ง หลังจากช่วงหลังๆที่ผ่านมา งานประจำก็ยุ่งๆ เหลือเกิน + ความขี้เกีขจของผมเอง ^ ^” เลยไม่ค่อยได้มีเวลา Update content ไรเกียวกับ IT ในเว็บบอร์ดตัวเก่า เลยกลายเป็นเว็บร้างมานาน  ตอนนั้นเลย Backup และปิดเว็บไปประมาฯ 2 ปีกว่าได้  มาถึงตอนนี้เลยอยากจะทำเว็บใหม่ จะเน้นบทความทางด้าน IT, Programming, Network, Network Security  ตามเคย  รวมถึงเล่าเรื่องราว ประสบกาม เอ้ยย!..  ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านตัวอักษรลงใน Blog แห่งนี้ ก็มีบ่นแบบสาระบ้าง และไร้สาระบ้าง ตามสไตล์  คงไม่ว่ากันนะครับ 🙂

                อ้า.. เข้าเรืองเลยละกัน สมัยก่อนเมือ 7 ปี ที่แล้ว ซึ่งสมัยนั้นเว็บไชด์ตัวเก่าของผมก็ยังใช้ Shared Hosting อยู่มานานหลายปี  ซึ่ง 2 ปีที่แล้ว ผมขี้เกียจและไม่มีเวลาไป update อะไรในเว็บเท่าไร  เลยไม่ได้ต่ออายุมัน ทำให้ domain+host มันก็ expire  ไปเรียบร้อยละ.  กลับมาคราวนี้ผมเลยจะลองหา Hosting ใหม่ รวมถึง domain ชื่อใหม่ จริงๆ ดูๆ หลายเจ้านะ ทั้ง Shared hosting บ้าง และก็ VPS บ้าง ที่ราคาไม่แพงมาก  แต่สุดท้ายก็เลยตัดสินใจลองเลือก Cloud VPS : Digital Ocean ชึ่งราคาก็ไม่แพงเท่าไร   ราคาก็เริ่มต้นที่ $5/เดือน หรือ ประมาณ 150 บาทต่อเดือน (ปีละประมาฯ 1800 บาท) ถือว่าถูกนะครับ เมือเทียบกับ VPS เจ้าอื่น (แต่เมือเทียบรายปี ก็ยังแพงกว่า Shared host ในไทยอยู่นะ ^^”)

compare price

 

ก่อนที่เราจะเอาเว็บของเราไปเผยแผร่ ประกาศให้คนทั้งโลกได้เข้าถึงได้นั้น จำเป็นก็ต้องมี Server หรือ Web server นั้นเอง ในที่นี้ผมจะขอเรียกอีกอย่างว่า Web Hosting ละกันนะครับ  ซึ่ง web hosting ในปัจจุบัก็มีหลายประภท   และข้อดี ข้อเสีย ก็ต่างกันไป หลักๆ ก็จะมีดังนี้

          –  Shared Web Hosting
ก็เหมือนนำเว็บของเราไปฝากวาง server ของผู้ให้บริการ web hosting นั้นเอง  ชึ่งใน web server เครื่องนั้น อาจจะมี website ของลูกค้าคนอื่นหลายๆ เว็บ ใช้งานอยู่ด้วย รวมถึงมีการ share ทรัพยากรต่างๆ ของเครื่องก็จะใช้ร่วมกัน การใช้งานก็จะค่อนข้างจำกัดอยู่บ้าง เช่น พื้นที่ในการเข้าถึง, แบนด์วิด, ภาษาสคิปที่จะเอาขึ้นไปรันดัวย.  ใน Share Hosting นั้นจะมีเครืองอำนวยความสะดวกหรือ web hosting control panels เพื่อให้เราจัดการแก้ไข/ตั้งค่าพวก Database, DNS, Email, Log และการ Upload deploy ฯลฯ.. ที่เห็นฮิตๆ กัน เช่น Direct Admin , Cpanel, Plesk เป็นต้น
ในการ deploy ก็จะทำผ่าน FTP หรือ web control panels ได้เลย

ข้อดีของ shared hosting ก็คือ ราคาก็ไม่แพงเท่าไรเมือเปรียบเทียบกับประเภทอื่น และมีระบบ backup ต่างๆ และเครื่องมืออำนวยความสะดวกเยอะแยะมากมาย รวมถึงผู้ให้บริการเค้าจะมีการดูแล support ให้คำแนะนำเราเมือเกิดปัญหา อีกด้วย ประมาฯว่า ไม่ต้องรู้เรือง Network เลยก็สามารถเปิดเว็บไซด์ได้ละ(อะไรจะง่ายขนาดนั้น ^ ^)

ข้อเสีย : ค่อนข้างมีข้อจำกัดหลายๆ อย่าง เช่น เราอยากติดตั้ง software หรือ package ตามใจชอบไม่ได้, พื้นที่ในการเข้าถึงก็จะจำกัด และหาก server มีปัญหาลัมขึ้นมา ก็จะกระทบกับลูกค้าทั้งหมดด้วย หรือหากใน host นั้นมีเว็บลูกค้าคนอืนที่มีช่องโหว่โดน Hack เข้ามาได้   เว็บของลูกค้าทั้งหมดก็มีโอกาศโดน Bypass เข้าถึงข้อมูลเว็บของเราได้ด้วยเช่นกัน  ^ ^”

          – VPS Hosting
              VPS หรือ (Virtual Private Server Hosting)  เปรียบเสมือนเอา Server แรงๆ แล้วมาสร้างจำลองแบ่งย่อยๆ ออกมาเป็น เครืองเสมือน หรือจะเรียกว่า Virtual machine ก็ได้  และทรัพยกรนั้นก็จะถูกแบ่งแยกกันโดยอิสระ สามารถเลือกขนาดได้ขึ้นอยู่กับ package/ราคา ที่เลือก ไม่ว่าจะเป็น OS, CPU, Ram, HDD, Data transfer  ราคาเมื่อเทียบกันแล้วก็จะค่อนข้างแพงกว่า Web share hosting  อยู่พอสมควร

ข้อดี  เราสามารถเข้าถึง VPS ของเราได้อย่างอิสระ (ได้เป็น root นั่นเอง) สามารถจัดการและติดตั้ง software เพิ่มได้ตามใจชอบ (อารมณ์เหมือนเราเป็นเจ้าของเครืองนั้นเลยก็ว่าได้)

ข้อเสีย  Traffic & Data transfer ค่อยข้างจำกัด (ขึ้นอยู่กับ package ที่เลือก)

          – Dedicated Hosting และ Collocated Hosting
เป็นการเช่าใช้งาน Server “ทั้งเครือง” ส่วนใหญ่แล้ว Server มักจะไปวางกับ IDC (Internet Data Center) ค่าบริการก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงกับผู้ให้บริการ.  Hosting ประเภทนี้จะค่อนข้างแพงกว่า VPS/Share Hosting  และข้อดีอีกอย่างคือ ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงทุกอย่างหรือเรียกว่า ได้สิิทธิ์ root/admin เครืองนั้นเลยก็ว่าได้ ซึ่งก็จะมีเราเท่านั้นที่เข้าถึงได้ รวมถึงยังสามารถติดตั้ง application, software ได้อิสระ ตามใจชอบ, เร็ว แรง มีความปลอดภัยสูง  การเข้าถึงก็สะดวก สามารถทำผ่าน SSH/Remote Desktop ได้เลย
           ส่วน Collocated Hosting ก็จะเป็นการเอา Server ของเราไปฝากพื้นที่ IDC (Internet Data Center) หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ราคาก็ขึ้นอยู่ข้อตกลงในการเช่าพื้นที่เช่นเดียวกัน การเข้าถึงก็จะ Full access เหมือนกับ Dedicated host  ชึ่งเราเป็นเจ้าของเครืองนั้นเอง

            สุดท้ายแล้วบางอย่างเจ้า shared host มันก็ยังตอบโจทย์ของผมหลายๆอย่าง เหมือน VPS ไมไ่ด้  คือผมต้องการที่จะจัดการ เข้าถึงทรัพยาการทุกอย่างในเครื่อง Server และติดตั้ง application รวมถึง Config, รัน script บลาๆ… ด้วยตัวเองทั้งหมดตามจินตนาการ  ส่วน Dedicated Hosting และ Collocated Hosting ราคาแพงเกิ้น ผมเลยไม่ได้สนใจ

ถ้าใครสนใจ Cloud VPS  อย่าง Digital Ocean ในการทดสอบรันเว็บของตัวเองก็ลองเล่นดูนะครับ   สำหรับมือใหม่ ที่ยังไม่เคยใช้งานก็สามารถเข้าไปที่ลงทะเบียนได้ที่ https://www.digitalocean.com/

ตรงนี้มาถึงขั้นตอนในการสร้าง droplet  โดยเราสามารถเลือกได้ตามใจชอบเลยนะครับ  ในที่นี้ผมเลือกแบบถูกสุด $5/mo ในการทดสอบ

 

มาถึงตรงนี้ ให้เราเลือก location ของ server ได้   ในที่นี้ผมขอเลือก location ที่ไกล้เราที่สุด นั้นก็คือ Singapore นั่นเอง

 

 

จากนั้นทำการเลือก Image (OS) ที่ต้องการ   ในทีนี้ผมทำการเลือก Centos 7 x64

ส่วนหน้านี้ถ้าต้องการใส่ SSH key เพือทำ secure ssh ก็สามารถเพิ่มเข้าไปได้นะครับ  ถ้ายังไม่มี ก็สามารถข้ามขั้นตอนนี้ได้  (อาจจะมาเพิ่มทีหลังก็ได้เหมือนกัน)

 

เมือทำการเลือกทุกอย่างเรียบร้อยก็ทำการ Create Droplet ได้เลย
แล้วนั่งจิบกาแฟรอ.. เห็นเค้าว่า ใช้เวลาสร้างประมาณ 55 วิ (เค้าโฆษณา ว่างั้น)  จริงๆ อยู่ในช่วง 1-2 นาที ก็ได้ละ


ตรงนี้ถ้าใครมี domain ไว้แล้ว ก็สามารถ map ได้เลย  ชึ่งมันง่ายมากๆ

มาก็ถึงเวลาที่จะต้อง map host (digital ocean) กับ domain ของเราละครับ
เมือเข้ามาหน้า Control Panel ของ Godaddy ให้เลือก Domain ที่เราได้ทำการ register ไว้ แล้วเข้าไปในส่วนของ Settings
แล้วทำการเพิ่ม NameServer ที่ได้จากหน้า DNS  ใน Panel ของ Digital Ocean


แก้ไข ServerNames   ในส่วนของ Settings
อย่าลื่มไปปิด Auto-renew ไว้ด้วยนะครับ สำหรับใคร ไม่ต้องการให้ Godaddy มัน auto ต่อ domain ให้อัตโนมัติ


แล้วก็รอให้ DNS มัน update ทั้งโลก  ประมาณ ไม่เกิน 24 ชั่วโมง  (ของผมรอประมาณ 2 ชั่วโมง ก็ได้ละครับ)
แค่นี้ก็เสร็จเรียบร้อยละครับ

ส่วนท่านใดที่สนใจลอง VPS บน Digital Ocean ก็สามารถเอา Coupon  “bcf9aac27719” ไปเป็นส่วนลดได้ครับ (ฟรี $10)

Facebook Comments
Share Button

Watchara Pongsri

Senior Software Engineer, Network Engineer CEH, CHFI, ECSA, MCSA My hobby is - Blogger - Programming & Security Researcher

More Posts - Website

Follow Me:
TwitterFacebookLinkedInGoogle Plus

Comments are closed